วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551

เริ่มต้นวันใหม่ ๑ เมษายน

วันนี้ยังหาสาระดีดีมาฝากกันไม่ได้เลย
เดี๋ยวจะลองค้นหาดูหน่อยมีอะไรน่าสนใจบ้าง
ผิดพลาดยังไงก็ไม่รู้ เขียนวันที่ 1 เมษายน
แต่ไปขึ้นวันที่ 31 มีนา งงง.

วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2551

เพิ่มเติม Link นวดแผนไทย

นวดแผนไทย
ราชสำนัก
เชลยศักดิ์

เพิ่มเติม Link ธรรมะ

หลวงพ่อฤษีลิงดำ

อาการปวดไหล่

อาการปวดไหล่

ข้อไหล่ของเรา

ข้อไหล่ของเราประกอบไปด้วยกระดูก 3 ชิ้น คือ กระดูกต้นแขน กระดูกสะบัก และกระดูกไหปลาร้า มาประกอบกันเป็นข้อ ข้อไหล่เป็นข้อที่มีการเคลื่อนไหวได้มากที่สุดในร่างกาย และเป็นข้อที่ถูกใช้งานมาก จึงทำให้มีปัญหาได้

อาการปวดไหล่เกิดจากอะไรได้บ้าง ?

อาการปวดไหล่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เป็นได้ตั้งแต่เด็กจนโต สาเหตุของการปวดไหล่ที่พบบ่อยมีดังนี้
1. ในวันเด็กและวัยรุ่น อาการปวดไหล่มักจะมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

2. ในวัยหนุ่มสาว อาการปวดไหล่มักมีความสัมพันธ์กับการใช้ข้อไหล่ทำงานอย่างมาก ทำให้มีการเสียดสีและอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ ข้อไหล่

3. ในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ อาการปวดไหล่มักมีสาเหตุมาจากการเสื่อม อันเป็นผลมาจากการใช้ข้อไหล่ทำงานมาก
4. ข้อไหล่อักเสบ เป็นผลมาจากโรคข้ออักเสบที่มีข้อไหล่อักเสบร่วมด้วยได้ เช่น โรครูมาตอยด์ เป็นต้น

5. อาการปวดไหล่ที่เป็นผลมาจากการปวดร้าวหรือมีการอักเสบบริเวณอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง เช่น กระดูกคออักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ โรคของหัวใจ โรคตับ เป็นต้น

6. อาการปวดอันเป็นผลมาจากการกระจายของมะเร็งมาที่กระดูกต้นแขน

วงจรของข้อไหล่ติดเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ข้อไหล่เป็นข้อที่มีการเคลื่อนไหวได้มากที่สุดก็จริง แต่มีจุดอ่อนคือ เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นและข้อไหล่ไม่ได้เคลื่อนไหวแล้ว จะมีใยพังผืดมาจับบริเวณข้อไหล่ ทำให้ข้อไหล่ติดและเคลื่อนไหวได้ลำบาก เมื่อมีอาการปวดและไม่ยอมเคลื่อนไหวข้อไหล่ ก็จะมีพังผืดมาเกาะมาก ๆเข้า เป็นผลให้ข้อไหล่ติดแข็งและเคลื่อนไหวไม่ได้

สัญญาณอันตรายของอาการปวดไหล่มีอะไรบ้าง ?

เมื่อมีอาการปวดไหล่ร่วมกับอาการต่อไปนี้ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์

1. มีข้อไหล่บวม

2. มีอาการปวดมานานกว่า 2 สัปดาห์

3. มีอาการปวดร่วมกับการเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ไม่เต็มที่

4. มีอาการชาของแขน หรือมีอาการเย็น หรือเปลี่ยนสีของผิวหนังบริเวณแขนร่วมด้วย

5. มีอาการอื่น เช่น ไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย เป็นต้น

แพทย์จะรักษาอาการปวดไหล่อย่างไรบ้าง ?

แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายก่อน ในรายที่จำเป็นอาจต้องการการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัย การรักษาอาการปวดไหล่

1. ในรายที่มีอาการปวดมากควรหยุดการพักการใช้ข้อไหล่ แต่ไม่ควรจะหยุดนานเนื่องจากจะทำให้ข้อไหล่ติด

2. ควรใช้ความร้อนประคบ อาจเป็นกระเป๋าน้ำร้อนก็ได้ เพื่อช่วยลดความเจ็บปวด การใช้ความร้อนประคบควรหลีกเลี่ยงในรายที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อบริเวณข้อ

3. การใช้ยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์

4. การบริหารไหล่ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเพื่อป้องกันไหล่ติด (ศึกษาวิธีการบริหารไหล่ได้จากเอกสารการบริหารร่างกาย)

ที่มา www.thairheumatology.org/people01.php?id=77 ขอขอบคุณครับ

อันนี้เป็นหนักอ่านดู

เวียนศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดไหล่ แขนชา ฯลฯ
สารพัดอาการที่เกิดจาก “โรคกระดูกคอ”
คอของเราประกอบด้วยกระดูกคอ (cervical Spine) ทั้งหมด 7 ข้อ หรือที่เรียกว่ากระดูก C1~C7 ระหว่างกระดูกแต่ละข้อมีแผ่นกระดูกอ่อนหรือที่เรียกว่าหมอนรองกระดูกคั่นกลางทำหน้าที่ป้องกันการเสียดสีและเป็นเสมือนโช๊คอัพ เพื่อดูดซับและกระจายแรงอัด ส่วนกระดูกที่เราคลำได้เป็นตุ่มๆ ที่อยู่ด้านหลังของคอนั้นเป็นกระดูกที่ยื่นออกจากส่วนหลังของกระดูกคอ ตรงกลางของกระดูกนี้จะมีลักษณะเป็นรูให้ประสาทไขสันหลังและหลอดเลือดสอดผ่าน ระหว่างรอยต่อของกระดูกคอแต่ละข้อจะมีช่องว่างให้รากประสาทงอกออกมาเพื่อนำคำสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อที่ไหล่ แขนและมือ และรับความรู้สึกต่างๆ กลับไปยังสมอง กระดูกคอมีขนาดเล็กแต่ต้องแบกรับน้ำหนักของศีรษะที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา จึงเกิดการบอบช้ำบาดเจ็บได้ง่ายและเสื่อมได้เร็วกว่า ส่งผลกระทบต่อเส้นประสาท หลอดเลือดและไขสันหลังที่อยู่บริเวณเดียวกัน ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ไหล่และสะบัก ปวดร้าวและชาที่แขนและมือ พร้อมทั้งอาการอื่นๆ ที่สลับซับซ้อนจนบางครั้งนึกไม่ถึงว่าการเจ็บปวดทรมานนี้มาจากกระดูกคอเรานี่เอง
สาเหตุโรคกระดูกคอที่พบบ่อย...
-ภาวะกระดูกคอเสื่อม กระดูกคอที่เสื่อมลงตามวัยนั้นอาจจะไปกดทับเส้นประสาท หลอดเลือดหรือไขสันหลังที่อยู่บริเวณเดียวกันซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
-อิริยาบถหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ เช่น การหนุนหมอนสูงเกินไป การทำงานในท่าเดียวนานๆ นั่งเขียนหนังสือ นั่งดูเอกสาร นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวี เป็นต้น
-คอเคล็ดหรือยอก เกิดจากคอมีการเคลื่อนไหวเร็วเกินไปหรือรุนแรงเกินไป เช่น การก้มเพื่อมองหาของใต้โต๊ะ การเอี้ยวตัวเพื่อหยิบของข้างหลัง การหกล้ม การเล่นกีฬาหรือโยคะ การนวดหรือการดัดตัว เป็นต้น ทำให้เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อคอถูกยืดมากหรือมีการฉีกขาดจนเกิดอาการปวดคอ
-ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
-ข้ออักเสบ ข้ออักเสบเรื้อรังบางชนิดอาจทำให้กระดูกคออักเสบไปด้วย เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
-อาการอักเสบของร่างกาย เช่น คออักเสบ หูอักเสบ เป็นต้น อาจทำให้เป็นโรคกระดูกคอหรือกระตุ้นให้อาการหนักขึ้น
-ความเครียดทางจิตใจ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อคอตึงตัวเป็นประจำจนส่งผลกระทบต่อกระดูกคอได้
- 2 -
โรคกระดูกคอมีชนิดใดบ้าง...
-กระดูกคองอกกดทับรากประสาท กระดูกคอแต่ละข้อมีรากประสาทงอกออกจากไขสันหลังเพื่อควบคุมการทำงานของไหล่แขนและมือ เมื่อกระดูกคอเสื่อมลงตามวัย ข้อต่อจะหลวมหรือไม่แข็งแรง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดคอเรื้อรัง ถึงแม้ว่าบางรายอาจไม่มีอาการปวดคอก็ตาม แต่ก็จะรู้สึกเมื่อยคอเป็นประจำ ต่อมาร่างกายมีการปรับสภาพโดยการสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาทดแทนส่วนที่เสื่อมไป กระดูกที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้เรียกว่า หินปูน หรือ กระดูกงอก ประกอบกับหมอนรองกระดูกที่เสื่อมและบางลง ทำให้ช่องว่างระหว่างข้อกระดูกคอแคบลง ในที่สุดไปกดทับรากประสาทและเกิดอาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอและสะบัก บางครั้งรู้สึกเสียวหรือชาและมีเสียงกรอบแกรบเวลาหันคอ หากปล่อยไว้เรื้อรังจะมีอาการปวดร้าวเสียวหรือชาที่แขนและมือ อาการจะเป็นมากเวลาเงยหน้า อาจมีอาการฝ่อตัวของกล้ามเนื้อที่แขนและมือด้วย
-กระดูกคอกดทับไขสันหลัง หินปูนที่เกาะตามกระดูกคอหรือกระดูกคอที่เสื่อมจะทรุดลงมากดทับไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวดมึนศีรษะ แขนชา ปวดเมื่อย อ่อนแรงโดยเฉพาะหัวเข่าจะรู้สึกอ่อนแรง เวลายืนจะโคลงเคลง ก้าวขาไม่ค่อยออก ผิวหนังปวดแสบปวดร้อน อาจควบคุมปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้และสุดท้ายอาจเป็นอัมพาต
-กระดูกคอกดทับหลอดเลือดแดง กระดูกคอมีรูให้เส้นประสาทและหลอดเลือดแดงสอดผ่าน เมื่อกระดูกคอและหมอนรองกระดูกเสื่อมลงจะทำให้รูนี้แคบลง หลอดเลือดแดงก็จะเป็นตะคริวหรือถูกกดทับเลือดจึงไปเลี้ยงสมองไม่พียงพอ ทำให้เกิดอาการปวดเวียนศีรษะ ปวดตุบๆที่ท้ายทอย สายตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน คลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ วูบล้มลงอย่างกะทันหัน แต่ไม่หมดสติ สามารถลุกขึ้นได้เองอย่างรวดเร็วเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แขนขาอ่อนแรง แขนชา หยิบของแล้วร่วง เวลาเงยหน้าหรือหันคออย่างกะทันหันจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง ฯลฯ
-กระดูกคอกดทับประสาทซิมพาเธติก ประสาทซิมพาเธติกควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ความดันโลหิต การขยับตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ตลอดจนกล้ามเนื้อเรียบในอวัยวะและต่อมขับหลั่งต่างๆในร่างกาย หากกระดูกคอหรือหมอนรองกระดูกคอเสื่อมและกดทับเส้นประสาทก็จะเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน รู้สึกศีรษะหนักๆ ปวดท้ายทอย สายตาพร่า ปวดแน่นเบ้าตา ตาแห้ง เห็นแสงว๊อบแว๊บ ใจสั่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ แน่นหน้าอก ความดันโลหิตสูงขึ้น ฯลฯ
-ปวดคอเนื่องจากกล้ามเนื้อตึงตัว กล้ามเนื้อบริเวณคอมีโครงสร้างซับซ้อนและทอสานเกี่ยวพันกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเราอยู่ในท่าเดียวนานๆ เช่น ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวี เขียนหนังสือ เป็นต้น กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณคอก็จะตึงตัว ทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดีจนเกิดอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยต้นคอและไหล่แล้วจะลามไปถึงสะบักและแขนด้วย เมื่อกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นตึงเกร็งนานๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อกระดูกคอ ทำให้กระดูกคอเคลื่อนและเกยทับกันได้เช่นกัน ส่วนการหนุน
- 3 -
หมอนที่สูงเกินไปหรือผิดท่าจนทำให้เกิดอาการคอตกหมอนนั้นเกิดจากการตึงตัวของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อคอเช่นกัน แต่ผู้ที่มีอาการคอตกหมอนเป็นประจำแสดงว่ากระดูกคอเริ่มเสื่อมแล้ว
สาเหตุโรคกระดูกคอในทัศนะการแพทย์จีน...
การแพทย์จีนได้จัดโรคกระดูกคอให้อยู่ในกลุ่มโรคชาและปวดเมื่อย จากเส้นลมปราณติดขัด ซึ่งมีสาเหตุจากพลังลมปราณพร่องลงตามวัย ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงและเกิดภาวะเลือดคลั่ง กีดขวางการไหลเวียนของโลหิตจนเกิดอาการปวด ตามหลักการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีน ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแสดงว่าไม่ปวด ส่วนพิษของลมและเย็นชื้น ที่สะสมในเส้นลมปราณบริเวณคอและไหล่จะจับตัวเป็นก้อนทำให้เส้นลมปราณและหลอดเลือดติดขัดมากยิ่งขึ้น เส้นเอ็น กล้ามเนื้อและกระดูกคอจะได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอจึงทำให้เสื่อมลงได้เร็วขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติหลายอย่าง
วิธีบำบัดแบบองค์รวมของการแพทย์จีน...
การรักษาโรคกระดูกคอด้วยยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาสเตอรอยด์อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สดสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากเป็นเพียงการระงับอาการปวดและอักเสบไว้ชั่วคราวเท่านั้นและมิได้หยุดยั้งการลุกลามของโรค ที่สำคัญคือพิษของยาจะก่อให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารไม่ย่อยและเกิดเลือดออกในกระเพาะอาหาร พร้อมทั้งส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆในร่างกาย ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงนั้น วิธีการผ่าตัดอาจได้ผลดีแต่อาจไม่เหมาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว อีกทั้งผู้ป่วยหลายๆคนก็ยังลังเลในเรื่องค่าใช้จ่าย ความยุ่งยากและความเสี่ยงต่างๆที่อาจตามมา ดังนั้น การแพทย์จีนจึงนิยมบำบัดโรคกระดูกคอด้วยวิธีแบบองค์รวมดังนี้
-ทะลวงหลอดเลือดและเส้นลมปราณบริเวณคอและไหล่สลายเลือดคลั่ง ทำให้หลอดเลือดและเส้นลมปราณโล่งขึ้น เส้นเอ็นกล้ามเนื้อและกระดูกคอจะได้รับการหล่อเลี้ยงได้มากขึ้น เพื่อบรรเทาอาการปวดและหยุดยั้งการลุกลามขอโรค
-ขจัดพิษของลมและเย็นชื้นที่สะสมอยู่ตามบริเวณไหล่และคอเพื่อขจัดสาเหตุสำคัญของโรคกระดูกคอ
-บำรุงเลือดลม กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต เลือดจึงไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น
-เสริมสร้างพลังลมปราณ ทำให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดภาวะเส้นลมปราณติดขัด
อาการปวดต้นคอ ไล่และสะบัก อาการปวดร้าวและอ่อนแรง ที่แขนและมือ อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สายตาพร่าและอาการอื่นๆ ที่เกิดจากโรคกระดูกคอจึงค่อยๆทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด

แก้อาการปวดไหล่,สะบัก อีกวิธีเอามาให้ลองดูกัน

การนวดแก้ปวดเมื่อยไหล่

สาเหตุของการปวดไหล่
ส่วนใหญ่เกิดจากการหิ้วของหนักเกินไป โหนรถ ใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นมากเกินไปนอนทับหรือทำงานผิดท่า หรือนั่งทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นประจำในเวลานานๆ
อาการ
มีอาการปวดเมื่อยไหล่ ปวดตึงในสะบัก แต่ไม่มีอาการติดขัดของข้อไหล คือยังสามารถยกมือชูชิดศีรษะได้่
จุดนวด
จุด 1 อยู่ใต้กระดูกไหล่ปลาร้าใกล้ข้อไหล่
จุด 2 อยู่ที่ร่องกล้ามเนื้อสามเหลี่ยมทางด้านหน้าแนวเดียวกับรักแร้
จุด 3 อยู่เหนือรักแร้ทางด้านหน้า
จุด 4 อยู่ที่มุมบนด้านในของกระดูกสะบัก
จุด 5,6,7 อยู่ข้างกระดูกสะบักตรงร่องระหว่างกระดูกซี่โครง
จุด 8 อยู่ที่แอ่งกึ่งกลางสะบัก
จุด 9 อยู่ที่แอ่งกลางสะบักต่ำกว่าจุด 8 ประมาณ 1 นิ้วมือ
จุด 10 อยู่เหนือรักแร้ทางด้านหลังของหัวไหล่
จุด 11 อยู่ขอบกล้ามเนื้อสามเหลี่ยมแนวเดียวกับรักแร้
จุด 12 อยู่บนกล้ามเนื้อสามเหลี่ยม ระดับเดียวกับรอยพับของรักแร้

สำหรับท่านชาย คัดลอกมาจากของหมอแดง


ทุกวันพุธผม(หมอแดง) ต้องไปออกรายการวิทยุแห่งประเทศไทย รายการ “ทั่วทิศถิ่นไทย” คลื่น FM 92.5 และ AM 891 อาทิตย์ที่ผ่านมา ได้พูดคุยกนเรื่องต่อมลูกหมากโตเป็นส่วนใหญ่ ช่วงท้ายรายการ คุณจำรัส ผู้ดำเนินรายการได้เกริ่นเรื่องสมรรถภาพทางเพศไว้หน่อยเดียว

ปรากฏว่าทุกวันนี้ มีสุภาพบุรุษโทรเข้ามาขอปรึกษาเรื่องนี้มากมาย ทั้งอาการนกเขาไม่ขัน นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ อาการอยู่สองต่อสองกับสุภาพสตรี แล้วจะมีอาการกลัว บางท่านเป็นเนื้องอกผ่าตัดเอาลูกอัณฑะออกไปลูกหนึ่ง ทำให้สมรรถภาพเสื่อม จะทำอย่างไรดีหมอ

ก็แนะนำ ปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิต การกินการอยู่เสียใหม่ แนะนำสมุนไพรที่โบราณเราใช้มาบ้าง เช่น

ขนาน 1
บอกแก้ “ลึงค์ตาย” ก็มีตัวยา กำลัววัวเถลิง โคคลาน โด่ไม่รู้ล้ม อย่างละ 12 บาท ใส่น้ำ 3 ส่วน ต้มเหลือน้ำ 1 ส่วน กินครั้งละ ถ้วยก่อนอาหารสัก 20 นาที 3 เวลา สัก 7 วัน ถ้ายังไม่ดีขึ้นก็ทำกินอีกชุด

ขนานที่ 2 ใช้หัวแห้วหมู หาขุดเอาตามท้องนามีมากมาย ถ้ามีกระชายดำ หรือเหง้าหัวกระชายที่เขามาทำน้ำยานั่นแหละ แต่เราใช้เหง้ามัน หรือชาวบ้านเขาเรียกกระโปกกระชาย ส่วนที่เขาเอาไปปลูกนั่นแหละ ได้ 2 อย่างแล้ว นำมาล้างให้สะอาด ใส่ครกโขลกให้ละเอียด หรือจะนำมาปั่นให้ละเอียดก็พอได้ เสร็จแล้วตักออกผสมน้ำผึ้ง จะปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเม็ดพุทรา ตากแดดให้แห้ง หรือไม่ต้องปั้น คลุกน้ำผึ้ง แล้วใส่กล่องพลาสติกปิดฝาใส่ในตู้เย็นไว้ แล้วเอาออกมากินเช้า และก่อนนอน ครั้งละ 1-2 ช้อนชาได้เลย

ใครที่กำลังถดถอยนำไปทำกินได้เลยครับ สมุนไพรไม่มีอันตราย

เรื่องน่าสนใจ ประสบการณ์ของหมอแผนไทย

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ได้ไปอ่านเจอมาเลยคิดว่าน่าจะจดจำไว้เป็นบทความที่ลงในหนังสือธงธรรมฉบับเดือนมีนาคม 2551 เรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาอาการในอีกรูปแบบหนึ่ง
ขอขอบคุณคุึณหมอแดง ที่ได้นำมาให้ได้อ่านกัน

นิตยสารธงธรรม ฉบับเดือน มีนาคม 2551

เช้าวันนี้ พระกิตติศักดิ์ ท่านเดินทางมาจากลำพูน เข้ามาบำบัดด้วยอาการ “กระดูกทับเส้น” โดยท่านจะมีอาการปวดหลัง ปวดต้นคอ ปวดทั้งตัวเลย ปวดจนร้อนหลัง ทั้งแขน ทั้งขามันจะวูบร้อนไปหมด บางครั้งชาขา ชาแขน ท่านว่ามีอาการหนักมา 6-7 เดือนแล้ว รักษาที่ โรงพยาบาลลำพูน และที่เชียงใหม่ โดยกินยาแก้ปวด ยาคลายเส้น และฝังเข็มมา 4-5 ครั้งแล้ว อาการก็ไม่ดีขึ้น จนทำงาน และไปเดินบิณฑบาตรยังไม่ได้

ช่วงนี้มีอาการปวดขมับ ปวดกราม ปวดหน้า บางครั้งจุกเสียดแน่นท้อง หน้าอก ทั้งๆที่ยังไม่ได้ฉันอะไรเลย ตัวท่านร้อนมาก มีสิวรอบปาก โดยเฉพาะช่วงคาง กดช่วงลิ้นปี่จะจุกและเจ็บ ท้องแน่นกดเจ็บ นวดกดจุดตามเส้นลมปราณกระเพาะอาหาร และเส้นกระเพาะปัสสาวะแล้ว ท่านมีอาการเจ็บจนน้ำตาไหล เลือดลมเดินไม่สะดวกเลย



ผมลองนำค้อนยางมาเคาะตามเส้นลมปราณด้านหลัง ท่านเรอออก แสดงว่ามีลมขังแน่นอยู่ในกระเพาะลำไส้ อาหารไม่ย่อยเลย และถ่ายไม่ดีด้วย ร่างกายจึงเต็มไปด้วยแก๊สพิษ เลือดเป็นกรด และแก๊สพิษนี้ก็เข้าไปอุดตัน ขวางกั้นทางเดินของเลือดลมๆ เดินไม่สะดวก ก็ย่อมปวด เมื่อย ไม่ใช่กระดูกทับเส้นแน่นอน

ให้ท่านนอนหงายแล้วยกขาขึ้น ก็ยังยกได้ เพียงแต่ตึงขาด้านหลังเส้นกระเพาะปัสสาวะบ้างเท่านั้น จึงมั่นใจได้ว่าไม่เป็นกระดูกทับเส้น ไม่เกี่ยวกับกระดูก เกี่ยวกับ “การย่อยอาหารไม่ดี” ต้องแก้ที่อาการนี้ ขืนกินยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ก็จะยิ่งทำร้ายกระเพาะอาหารไปกันยกใหญ่ แล้วก็ทำให้การย่อยไม่ดีหนักขึ้นไปอีก เกิดแก๊สเพิ่มขึ้นก็ย่อมปวดหนักขึ้นแน่

ก็จะย่อยได้ดีอย่างไร ในเมื่อช่วงฉันอาหาร ท่านฉันน้ำเย็น 3-4 แก้ว ทั้งมื้อเช้าและเพล แถมดื่มนมอีกวันละ 2-3 กล่องแล้วแต่เวลา การย่อยจึงไม่ดี และน้ำก็ดื่มช่วงทานอาหาร เวลาอื่นไม่ค่อยจะดื่มเลย ร่างกายจึงขาดน้ำด้วย ก็ยิ่งทำให้ร่างกายร้อนไปใหญ่เลย

วันนี้จึงให้ท่านนวดเท้า พร้อมนวดกดจุดให้ แล้วให้ยาคลายเส้น ยาถอนพิษความร้อน น้ำเอ็นไซม์ เพื่อกลับไปถ่ายเอาแก๊สและสารพิษออก จึงแนะนำให้ท่านไปจำวัดที่วัดดอกไม้ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับคลินิก และให้ท่านเข้ามาบำบัดต่อพรุ่งนี้ คิดว่าสักอาทิตย์ท่านคงกลับลำพูน และออกโปรดญาติโยม เป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดศาสนาพุทธ เพราะท่านก็บวชมาตั้ง 7 พรรษาแล้ว

วันต่อมาท่านได้เข้ามาบำบัดแต่เช้า บอกว่าเมื่อคืนจำวัดอยู่วัดทองบน ไม่ได้จำวัดที่วัดดอกไม้ เพราะเห็นว่าที่วัดทองบนดูเงียบสงบดี และมีพระจำวัดอยู่ไม่มาก วัดก็อยู่ฝั่งเดียวกับคลินิก เดินสักครึ่งกิโลก็ถึง

“ฉันยาแล้วถ่ายดี ความร้อนในตัวลดลงมาก ได้นอนหลับสบายขึ้น ยังมีอาการปวดขาอยู่บ้าง” ท่านออกเล่าอาการ ดูสีหน้าท่านแล้วนวลขาวขึ้น ไม่แดงเหมือนวันแรก วันนี้เลยให้ท่านนวดเท้า นวดตัวประคบไล่เส้น ไล่ลมให้นิ่มขึ้น วันนี้ท่านพกน้ำมาด้วย ท่านจะจิบของท่านเรื่อยไปตามที่หมอบอก ซึ่งต่างจากก่อนโน้น จะฉันน้ำก็ตอนฉันข้าว ได้ให้ท่านนวดเท้า นวดตัวแล้วช่วยกดจุดให้ อาการที่กดแล้วเจ็บเหมือนครั้งแรกนั้นไม่มีแล้ว

คุณสัมฤทธิ์ เป็นอีกท่านที่มีอาการปวดหลัง ปวดเอวมาก จนต้องทำหลังงอๆ ยืดหลังตรงๆ ไม่ได้จะปวด มีอาการมาหลายปี รักษาโดยวิธีกินยาแก้ปวด และนวดตัว

มีอาชีพเป็นเซลล์ขายสี ต้องขับรถออกต่างจังหวัดตลอด นั่งขับรถนานๆ ก็จะปวดหลัง จากการซักประวัติในการกินการอยู่ ได้ความว่า ดื่มน้ำเย็นตลอด ช่วงทานข้าวก็ดื่มน้ำเย็น 2 แก้ว จึงทำให้อาหารไม่ย่อย ตอนเช้าก็ดื่มแต่กาแฟ ทานข้าวตอนสายๆ ดื่มน้ำน้อยแล้วยังดื่มครั้งละมากๆ ทำให้ลำไส้ดูดซึมน้ำไม่ทันปัสสาวะออกหมด เส้นเอ็นกล้ามเนื้อจึงแข็งตึง เลือดลมจึงเดินไม่สะดวก

อาจารย์ณรงศักดิ์ เป็นอีกท่านที่เข้ามาบำบัดด้วยอาการ “กระดูกทับเส้น” อีกเช่นกัน มีอาการปวดหลัง เอว ตะโพกทั้ง 2 ข้าง ก้มแล้วเหมือนกระดูกสีกัน ถ้านั่งทำงานก้มหลัง หรือนอนบนฟูกนิ่มๆ จะปวดมาก ปกติช่วงนี้ต้องนอนพื้นแข็งๆ จะค่อยยังชั่วหน่อย


เคยผ่าตัดกระดูกทับเส้นที่เอวมาแล้ว ตอนที่หมอให้ผ่าตัด เพราะขาซ้ายเขย่งเท้าไม่ได้ หมอบอกกระดูกข้อที่ 4-5 ปัญหาจึงผ่าตัด แต่ผ่ามาปีหนึ่งแล้ว ก็ยังเดินเขย่งเท้าไม่ได้ จึงได้แต่คิดว่าไม่น่าไปผ่าตัดเลย เพราะผ่าตัดแล้วก็ยังไม่หาย ออกกำลัง หรือวิ่งก็ไม่ได้ ทำงานหนักๆ ไม่ได้เลย ขาก็ดูลีบเล็กลง

ตอนนี้อาการหลังแข็งตึงไปหมด ตั้งแต่บ่า สะบัก หลังถึงตะโพก ต้องใส่เสื้อเกราะพยุงหลังไว้ให้ปวดน้อยลงหน่อย สภาพเหมือนคนแก่อายุสัก 80 ปี แค่ให้ขึ้นเตียงตรววจก็ร้องโอยๆ แล้ว บิด ขยับตัวก็ต้องค่อยๆทำ อาจารย์ท่านบอกว่ามันปวดมากๆในการขยับแต่ละที

คนไข้อายุ 55 ปี น้ำหนัก 72 กิโลกรัม ควรดื่มน้ำสัก 2.5 ลิตร ดูแล้วก็ดื่มได้ปริมาณเพียงพอ แต่ผิดวิธี เพราะดื่มแต่น้ำเย็น ช่วงทานอาหารดื่มน้ำมาก 2-3 แก้ว บางมื้อมีน้ำอัดลมด้วย แล้วก็มีน้ำโอเลี้ยงใส่กระติกไว้กินทั้งวัน บางวันมื้อเย็นมีเหล้าด้วย แล้วดื่มน้ำครั้งละเป็นขวดขนาดครึ่งลิตร หรือครั้งละ 1-2 แก้ว บอกว่าไม่มีเวลาดื่มบ่อยๆ อาหารที่ทานเข้าไปจึงไม่ย่อย เป็นโรคกระเพาะมานานแล้ว และยิ่งกินยาแก้ปวดกระดูกบ่อยๆ ด้วยกระเพาะก็ยิ่งกำเริบใหญ่ ลมแน่นท้องเป็นลูกกลมเลย

เมื่อได้นำค้อนยาง(อาวุธประจำตัวผม)มาเคาะ พร้อมกับนวดแล้ว อาการปวดน้อยลง บิดตัว ยืด ก้มตัวได้ ไม่ต้องใส่เสื้อเกราะอีก ยิ่งใส่ก็ยิ่งทำให้เลือดลมเดินไม่ได้ก็จะยิ่งปวดใหญ่ ให้ยาคลายเส้น ยากระเพาะ และน้ำเอ็นไซม์ไปกิน แล้วบอกให้พรุ่งนี้มาบำบัดต่อ

วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551

อาการปวดศีรษะ

คงไม่มีใครเกิดมาไม่เคยปวดหัว ทั้งปวดหัวจี๊ด ปวดหัวตุ้บๆ ปวดหัวมึนงง และอีกสารพัดรูปแบบ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนี้ก็มีสาเหตุหลากหลาย ทั้งจากความเครียด ใช้สายตามากๆ ทานช็อกโกแล็ต-ดื่มกาแฟมากเกินไป หรือแม้แต่จ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆก็ทำให้เราปวดหัวได้เหมือนกัน

วิธีแก้ปัญหาเบสิคที่ใครๆก็ใช้กัน คือปวดหัวปุ๊บก็คว้ายาแก้ปวดมาทานปั๊บ แต่การทานยาก็ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดเสมอไป ทานไปนานๆ อาจเจอะปัญหาดื้อยาหรือติดยาตามมาให้ปวดหัวหนักกว่าเดิมซะอีก วันนี้เลยมีวิธีธรรมชาติที่สามารถบำบัดอาการปวดหัวมาฝากกัน…

อโรมาเธอราพี กลิ่นคลายปวด
น้ำหอมระเหยช่วยบรรเทาอาการปวดได้ หากปวดหัวเพราะความเครียด ให้ใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมาร์จอแรม (marjoram) ประมาณ 5 หยด(30 มิลลิลิตร) มานวดกล้ามเนื้อคอหรือเติมในอ่างอาบน้ำ จะช่วยให้จิตใจสงบผ่อนคลาย หรือถ้าปวดหัวไซนัส ลองสูดดมไอระเหยจากชามน้ำร้อนที่หยดน้ำมันหอมระเหยกลิ่นสะระแหน่ 2 หยด เพื่อบรรเทาปวด

นวดบำบัด
การนวดบริเวณจุดที่เชื่อมโยงกับศีรษะก็ช่วยแก้อาการปวดหัวได้เช่นกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดให้คำแนะนำว่า ให้ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ของมือข้างหนึ่งยึดแต่ละนิ้วของมืออีกข้าง แล้วหมุนนิ้วไปตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา ทำแบบนี้ซัก 3-4 ครั้งใน 2-3 ชั่วโมงสำหรับใครที่ปวดหัวเล็กน้อย หรือสำหรับคนที่ปวดหัวไมเกรนเพิ่มเป็นชั่วโมงละ 2 ครั้งก็จะบรรเทาอาการปวดได้

กดจุด Shiatsu
Shiatsu เป็นศาสตร์การกดจุดที่ช่วยแก้ปัญหาอาการปวดหัว หากปวดหัวเพราะความเครียดให้ใช้นิ้วกดลงบนร่องระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้จะช่วยทำให้ผ่อนคลาย หรือถ้าปวดหัวไมเกรน ลองใช้นิ้วโป้งหรือนิ้วกลางกดลงที่สันกระดูกระหว่างฐานกระโหลกกับช่วงบนสุดของไขสันหลัง ประมาณ 1 นาที ก็จะช่วยให้การปวดลดน้อยลง

สมุนไพรพิชิตปวด
สมุนไพรบางชนิดมีฤทธิ์คลายปวดได้ เช่น การรับประทานสมุนไพรฟีเวอร์ฟิว (feverfew) วัน 200 มิลลิกรัมจะช่วยป้องกันอาการปวดไมเกรน เพราะฟีเวอร์ฟิวมีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดบวม, รับประทานขิง 100 มิลลิกรัมเมื่อเริ่มปวดหัว เพราะขิงมีสรรพคุณเหมือนยาแก้ปวด แถมยังบรรเทาอาการคลื่นไส้เพราะไมเกรนได้อีกด้วย หรือแม้แต่ใบแปะก๊วยก็ช่วยให้ปวดหัวน้อยลง เพราะแปะก๊วยจะช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนผ่านศีรษะและต้นคอได้ดี

อาหารเสริมช่วยได้
วิตามินหรือแร่ธาตุบางชนิดก็สามารถบรรเทาอาการปวดหัวบางแบบได้ เช่น ถ้าคุณกำลังปวดหัวเพราะความเครียด การเติมแมกนีเซียมให้กับร่างกายซักวันละ 200 มิลลิกรัมจะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ยิ่งถ้าบวกกับวิตามินบี 2 อีกวันละ 400 มิลลิกรัม ยิ่งเห็นผลเร็วทันตาเลยทีเดียว หรือสำหรับผู้ป่วยไมเกรน การได้รับสารอาหารจำพวก 5-HTP เป็นประจำจะช่วยบรรเทาปวดหัว เพราะเจ้า 5-HTP จะช่วยปรับระดับเซโรโตนินของร่างกายให้คงที่

Homeopathy เพิ่มภูมิต้านทาน
วิธี Homeopathy เป็นการรักษาโรคอีกรูปแบบที่กำลังฮิตในยุโรปและอเมริกา โดยใช้สมุนไพร เกลือแร่ หรือสารเคมีมากระตุ้นระบบภูมิต้านทานของร่างกาย อย่าง สมุนไพรที่ชื่อ “bryonia” สามารถบรรเทาอาการปวดหัวตุ้บๆ, เกลือ “nut mor” เหมาะสำหรับผู้ป่วยไมเกรนที่มีอาการคลื่นไส้หรือตาลายร่วมด้วย, “pulsatilla” เหมาะสำหรับสาวๆที่มักจะปวดหัวก่อนมีประจำเดือน และ “nux vomica” ใช้ได้ดีกับนักดื่มที่ปวดหัวเพราะเมาค้าง

เทคนิค Naturopathy
Naturopathy คือเทคนิคการรักษาอาการปวดที่การผสมผสานระหว่างอากาศบริสุทธิ์และการออกกำลังกายเบาๆ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำว่าการออกกำลังกายโดยการเดินเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 20 นาที จะสามารถบรรเทาอาการปวดและคลายเครียด

แต่หากใช้มาแล้วหลายเทคนิคแต่อาการปวดก็ยังไม่ทุเลา หรือมีอาการอื่นๆที่ไม่น่าไว้ใจร่วมด้วย อย่าง คอแข็ง อาเจียน ตาไม่สู้แสง ชาหรือเจ็บบริเวณขาหรือแขน ก็แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ดีกว่า เพราะอาการที่ว่าอาจจะอันตรายกว่าที่คิดก็ได้ ใครจะรู้!

วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551

บทนำ

ข้อความที่ได้เขียนนี้เป็นความรู้ส่วนตัวที่ได้เรียนรู้มา อาจจะผิดหรือถูกก็ได้ โดยส่วนตัวผู้เขียนไม่ใช่เป็นผู้รู้ตลอดทุกเรื่อง แต่อยากจะเขียนบล็อกที่เกี่ยวข้องกับการนวดแผนไทยขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บ
ข้อมูลต่างๆไว้เพื่อสะดวกในการค้นหาภายหลัง แต่ก้ออยากให้ผู้ที่มีความรู้ในแต่ละเรื่องได้เข้ามาอ่านและเพิ่มเติม ความรู้ให้เต็ม ไว้เพื่อการศึกษากันต่อไป
ขอนำมากล่าวไว้ในบทนำนี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสในการเรียนรู้เรื่องการนวดแผนไทยทั้งหลักสูตรของ
กรมพัฒนาฝีมือแรงงานและของวัดโพธ์ิ ทำให้ได้เห็นข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่จะไม่ขอนำมากล่าว ในที่นี้ แต่จะขอกล่าวถึงเรื่องของการนวดและที่เกี่ยวข้องกับการนวด ซึ่งจะได้กล่าวกันต่อไป